ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก - ที่แนะนำประสานงาน โดย โรงพยาบาลบีเอ็นเอช (BNH Hospital)

คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก และส่งเสริมสุขภาพสตรี BDMS Wellness Clinic ที่แนะนำประสานงาน​โดย โรงพยาบาลบีเอ็นเอช (BNH Hospital) ภายใต้ชื่อแบรนด์ Wellnesshealth club เกิดขึ้นจากความตั้งใจของทีมงานโรงพยาบาลบีเอ็นเอช (BNH Hospital) ที่จะดูแลทุกปัญหาของสุขภาพผู้หญิง และสานฝันให้กับคู่สมรสที่เตรียมความพร้อมจะมีบุตร หรือผู้มีบุตรยาก ด้วยทีมนักวิทยาศาสตร์การเพาะเลี้ยงตัวอ่อน (Embryologist) และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ และภาวะมีบุตรยาก พร้อมห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐานระดับสากลโลก มีการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยตามปัจจุบัน รวมถึงยังมั่นใจได้ว่าจะได้รับบริการที่สะดวกสบาย
ทีมงานโรงพยาบาลบีเอ็นเอช(BNH Hospital) มีประสบการณ์ดูแลกลุ่มคนไข้ภาวะมีบุตรยากยาวนานกว่า 15 ปี

มี Success Rate สูงถึง 70%(คิดจากจำนวนคนไข้ที่ได้รับการรักษาภาวะมีบุตรยากและได้รับการใส่ตัวอ่อน จนกระทั่งตั้งครรภ์สำเร็จ )

คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก และส่งเสริมสุขภาพสตรี BDMS Wellness Clinic ที่แนะนำประสานงาน​โดย โรงพยาบาลบีเอ็นเอช (BNH Hospital) เป็นหนึ่งในสถาบันทางการแพทย์ชั้นนำของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่พร้อมให้บริการด้วยมาตรฐานสากลระดับโลก บุคลากรทุกคนต่างทำงานร่วมกันเป็นทีมเพื่อดูแลผู้ป่วย ตั้งแต่เริ่มให้คำปรึกษาไปจนถึงทำการรักษาเสร็จสิ้น

ด้วยแนวคิด “เพราะครอบครัวคือพื้นฐานที่สำคัญ”และ “หมอของครอบครัว” ทำให้ คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก และส่งเสริมสุขภาพสตรี (BDMS Wellness Clinic) และ โรงพยาบาลบีเอ็นเอช (BNH Hospital) มีบริการทางด้านการแพทย์อยู่ในมาตรฐานระดับโลก พร้อมจะให้คำปรึกษาและดูแลอย่างครบวงจร ตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมตัวมีบุตร ตั้งครรภ์ฝากครรภ์ คลอดบุตร โปรแกรมหลังคลอด ฉีดวัคซีนเด็ก รวมไปถึงดูแลเด็กในทุกช่วงวัยได้อย่างต่อเนื่อง

เพราะความตั้งใจของเราคือการได้มีโอกาสดูแลบุตรหลานของท่าน เราพร้อมจะเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลสุขภาพของครอบครัวท่านในทุกช่วงของชีวิต
“Your Trustworthy Lifetime Healthcare Companion ให้เราเป็นเพื่อนดูแลสุขภาพคุณไปตลอดชีวิต”

BDMS Wellness Clinic

BDMS Wellness Clinic

รับคำปรึกษาเฉพาะบุคคล ฟรี!!! *เพียงกรอกแบบสอบถาม

ภาวะมีบุตรยากเกิดจากอะไร

ภาวะมีบุตรยากสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุปัจจัย สามารถพบได้บ่อยจากปัญหาในร่างกายของฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิง หรือทั้งสองฝ่ายร่วมกัน อายุที่เพิ่มมากขึ้น รวมไปถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ติดแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ สาเหตุเหล่านี้มีผลทำให้การสร้างตัวอสุจิน้อยลง และยังมีอีกกลุ่มหนึ่งประมาณ 5-10% ที่ยังหาสาเหตุไม่ได้

ตัวอย่างสาเหตุภาวะมีบุตรยากที่เกิดจากฝ่ายชาย

  • ปัญหาอสุจิ เช่น คุณภาพ ปริมาณ การเคลื่อนที่ รูปร่าง เป็นต้น

ตัวอย่างสาเหตุภาวะมีบุตรยากที่เกิดจากฝ่ายหญิง

  • ปัญหาการตกไข่
  • ปัญหาท่อนำไข่
  • ปัญหาที่มดลูกและปากมดลูก

เมื่อไหร่ถึงควรจะไปที่ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก

คู่สมรสที่แต่งงานกันมานานและเป็นคู่ที่มีเพศสัมพันธ์กันสม่ำเสมอ สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ไม่มีการคุมกำเนิดติดต่อกันประมาณ 1 ปี แล้วยังไม่เกิดการตั้งครรภ์ หรือผู้หญิงที่มีอายุเกิน 40 ปี ที่แต่งงานช้าหรือยังตัดสินใจ ควรเข้ารับการปรึกษาแพทย์ที่ศูนย์รักษาภาวะมีบุตรยาก ซึ่งแพทย์จะให้คำปรึกษาและคำแนะนำในการรักษาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

นอกจากนี้ ผู้ที่มีปัญหาบริเวณท้องน้อย ประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือเคยติดเชื้ออัณฑะอักเสบ มักจะมีภาวะมีบุตรยาก ควรเข้ามาพบแพทย์ที่ศูนย์ผู้มีบุตรยากเพื่อปรึกษาได้เลย โดยเฉพาะฝ่ายหญิง เนื่องจากผู้หญิงมีอวัยวะหลายอย่าง ทั้งรังไข่ มดลูก ผนังมดลูก โดยส่วนมากจะเจอปัญหาที่ซับซ้อนในฝ่ายหญิงมากกว่าฝ่ายชาย หากพบปัญหาเหล่านี้ควรรีบมาปรึกษาแพทย์ เพราะจะทำให้มีโอกาสรักษาหรือมีบุตรสำเร็จสูง ไม่ควรปล่อยให้เวลาผ่านไปนานหลายเดือนหรือหลายปี ควรรีบมาปรึกษา ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก

ปัญหาที่มักพบในผู้มีภาวะมีบุตรยาก

ปัญหาที่เกิดในฝ่ายหญิง

  • ประจำเดือนมาไม่ปกติ เช่น นานๆ มาครั้งเดียว ประจำเดือนมามากกว่าปกติ หรือมีอาการปวดประจำเดือนรุนแรง
  • เคยปวดท้องน้อย
  • เคยผ่าตัดบริเวณอุ้งเชิงกราน
  • อุ้งเชิงกรานอักเสบจากการติดเชื้อในอดีต อาจส่งผลให้ท่อนำไข่อุดตัน

ปัญหาที่เกิดในฝ่ายชาย

  • เคยติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์
  • ผ่าตัดไส้เลื่อน หรือผ่าตัดอื่นๆ บริเวณถุงอัณฑะ
  • เคยติดเชื้ออัณฑะอักเสบ โดยเฉพาะคางทูมในวัยเด็ก
  • โรคประจำตัวบางอย่าง เช่น มะเร็งในวัยเด็ก ที่เคยได้รับการฉายแสงหรือเคมีบำบัด

มาตรฐานของศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก

คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก และส่งเสริมสุขภาพสตรี BDMS Wellness Clinic ที่แนะนำประสานงาน​โดย โรงพยาบาลบีเอ็นเอช (BNH Hospital) พร้อมให้บริการ ทั้งการปรึกษาเกี่ยวกับภาวะมีบุตรยาก การตรวจคุณภาพน้ำเชื้อ การทำพีซ่าและการทำเทเซ่ (PESA & TESE) บลาสโตซิสท์คัลเจอร์ (Blast Cyst Culture)

การฉีดเชื้อผสมเทียม การทำเด็กหลอดแก้ว IUI IVF ICSI การฝากไข่ การตรวจโครโมโซมของตัวอ่อนด้วยเทคโนโลยี NGS การฉีดสารพลาสม่าเข้ารังไข่ เป็นต้น

พร้อมกันนั้น คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก และส่งเสริมสุขภาพสตรี BDMS Wellness Clinic ยังดูแลและให้บริการด้านสุขภาพของผู้หญิงแบบองค์รวม รวมถึงการตรวจเช็กสุขภาพหลากหลายรูปแบบ เริ่มตั้งแต่สำรวจพฤติกรรมการใช้ชีวิต การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย ไปจนถึงการวางแผนครอบครัว การมีบุตร และภาวะวัยทอง โดยทีมแพทย์ผู้ชำนาญการ รองรับการตรวจวิเคราะห์และให้คำปรึกษาปัญหา อย่างครอบคลุมสำหรับผู้หญิงทุกวัย

ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาทีมงาน โรงพยาบาลบีเอ็นเอช(BNH Hospital) ได้รับความไว้วางใจ และความเชื่อมั่นจากทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ มีประสบการณ์ในการดูแลกลุ่มคนไข้ภาวะมีบุตรยาก ดูแลกลุ่มคนไข้ที่ผ่านการกระตุ้นไข่สูงถึง 4,000 Cycles เรามีห้องปฏิบัติการทาง IVF ที่ได้มาตรฐานสากลระดับโลก รวมถึงอุปกรณ์ที่ทันสมัยตามเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า

นอกเหนือจากนี้จุดแข็งของเราคือ การใช้ยาที่เหมาะสมกับร่างกายของคนไข้และมีการควบคุมปริมาณการฉีดยา เพื่อไม่ให้เป็นอันตรายต่อคนไข้ และป้องกันไม่ให้เกิดปัญหารังไข่ถูกกระตุ้นมากเกินไป (OHSS) เราเลือกยาที่ดีต่อคนไข้มากที่สุด เห็นผลมากที่สุด อีกทั้งตัวยาที่ทีมแพทย์เราเลือกใช้ ได้รับการรับรองมาตรฐานสากลจากองค์กรชั้นนำมากมาย รวมถึงเรายังคอยให้คำปรึกษา ดูแลท่านไปจนถึงระยะหลังคลอด

บริการที่เรามี

คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก และส่งเสริมสุขภาพสตรี BDMS Wellness Clinic ที่แนะนำประสานงาน​โดย โรงพยาบาลบีเอ็นเอช (BNH Hospital) มีบริการดังนี้

ivfคือ

IVF

ทำกิ๊ฟแตกต่างกับเด็กหลอดแก้วยังไง

IUI

ฉีดยากระตุ้นไข่ตก

ICSI

IVF

IVF (In-Vito Fertilization) คือการทำเด็กหลอดแก้ว โดยการคัดไข่ที่สมบูรณ์จากฝ่ายหญิงและคัดอสุจิที่แข็งแรงจากฝ่ายชายมาผสมกันให้เกิดการปฏิสนธิที่ภายนอก แล้วจึงนำไข่ที่ผสมแล้วจนเป็นตัวอ่อนนำกลับเข้าไปที่โพรงมดลูก เพื่อให้เกิดการตั้งครรภ์แบบปกติต่อไป

การทำ IVF เหมาะกับใคร

  • คู่ที่ไม่ทราบสาเหตุของการมีบุตรยาก และพยายามมีบุตรมากกว่า 1 ปี
  • คู่สมรสที่ใช้วิธีกระตุ้นการตกไข่และการผสมเทียมโดยการฉีดอสุจิเข้าสู่โพรงมดลูกโดยตรงมาแล้ว (IUI) แต่ยังไม่ตั้งครรภ์
  • ฝ่ายหญิงและฝ่ายชายมีปัญหาทางร่างกายทำให้ยากต่อการตั้งครรภ์ เช่น ฝ่ายหญิงมีปัญหาท่อนำไข่อุดตัน มีภาวะไข่ตกช้า ฝ่ายชายมีปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพของเชื้ออสุจิ เช่น มีจำนวนน้อย รูปร่างผิดปกติ เป็นต้น

IUI

IUI (Intra-Uterine Insemination) คือการฉีดน้ำอสุจิตัวที่ผ่านการคัดเลือกให้เหลือแต่ตัวที่แข็งแรงที่สุด เข้าสู่โพรงมดลูกโดยตรง ในช่วงไข่ตกหรือใกล้เวลาที่มีไข่ตก โดยจะใช้ท่อพลาสติกขนาดเล็กสอดผ่านปากมดลูกแล้วฉีดน้ำเชื้ออสุจิเข้าไปในโพรงมดลูก ตัวอสุจิจะว่ายไปปฏิสนธิกับไข่เอง การทำ IUI จึงเป็นวิธีที่เพิ่มอัตราความสำเร็จในการตั้งครรภ์มากกว่าวิธีธรรมชาติ

การทำ IUI เหมาะกับใคร

  • คู่สมรสที่มีอายุน้อยกว่า 30 ปี
  • มีปัญหาปากมดลูกหรือคอมดลูกตีบ
  • มีภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรัง หรือภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovary Syndrome-PCOS)

ICSI

ICSI (Intracytoplasmic Sperm Injection) คือการทำเด็กหลอดแก้ว โดยการคัดเอาตัวอสุจิที่แข็งแรงที่สุด 1 ตัว ทางศูนย์ผู้มีบุตรยากจะใช้วิธีการส่องกล้องจุลทรรศน์และใช้เข็มขนาดเล็กฉีดเข้าไปในเซลล์ไข่ 1 ใบ เพื่อให้เกิดการผสมกันโดยตรง หลังจากนั้นจะนำไข่ที่ผสมแล้วไปเลี้ยงในห้องปฏิบัติการ เมื่อตัวอ่อนพัฒนาอยู่ในระยะที่เหมาะสมแล้ว ก็จะถูกนำกลับไปไว้ในโพรงมดลูกเพื่อเจริญเติบโตในครรภ์ต่อไป

การทำ ICSI จึงเป็นการทำให้เกิดการปฏิสนธิแบบเจาะจง ทำให้มีโอกาสประสบความสำเร็จในการตั้งครรภ์มากกว่าการทำเด็กหลอดแก้วแบบอื่นๆ

การทำ ICSI เหมาะกับใคร

  • คู่สมรสที่อายุมากกว่า 35 ปี
  • คู่สมรสที่ทำ IUI หรือ IVF ไม่สำเร็จ
  • ฝ่ายหญิงหรือฝ่ายชาย มีปัญหาทางร่างกายทำให้ยากต่อการตั้งครรภ์ เช่น ฝ่ายหญิงมีปัญหาท่อนำไข่ตีบตัน การเสื่อมสภาพของรังไข่ ฝ่ายชายมีปัญหาเรื่องเชื้ออสุจิในเรื่องคุณภาพ ปริมาณ การเคลื่อนที่ เป็นต้น

ฝากไข่ (Oocyte Cryopreservation)

ฝากไข่ (Egg Freezing หรือ Oocyte Cryopreservation) เป็นการเก็บรักษาไข่ โดยการนำเอาไข่สภาพดีและยังอยู่ในวัยเจริญพันธุ์ของฝ่ายหญิงออกมาจากรังไข่เพื่อนำมาแช่แข็งในห้องปฏิบัติการเพื่อไม่ให้เสื่อมสภาพ เมื่อถึงเวลาที่พร้อมจะมีบุตรแล้วจึงจะนำไข่มาผสมกับอสุจิของสามีที่ถูกต้องตามกฎหมายเพื่อนำไปสู่การตั้งครรภ์ในเวลาที่ต้องการ โดยไข่ที่ได้รับการแช่แข็งสามารถเก็บรักษาไว้ที่ศูนย์รักษาภาวะมีบุตรยากได้ 5-10 ปี

การฝากไข่เหมาะกับใคร

  • ผู้หญิงที่ยังไม่พร้อมตั้งครรภ์
  • กลุ่มที่มีโรคเรื้อรังบางอย่าง หรือเป็นโรคมะเร็ง
  • ผู้ที่มีปัญหาทางพันธุกรรม ที่ทำให้รังไข่เสื่อมเร็ว
  • ผู้ที่ต้องได้รับการผ่าตัดรังไข่

ทำกิฟต์

การทำกิฟต์ (Gamete Intrafallopian Transfer: GIFT) จะเป็นเทคนิคช่วยการเจริญพันธุ์ โดยการนำเอาไข่ที่เจาะออกมาผสมกับอสุจิของฝ่ายชาย แล้วใส่กลับไปในท่อนำไข่ เพื่อให้เกิดการปฏิสนธิ

ในปัจจุบันแพทย์ไม่แนะนำให้ทำแล้ว เนื่องจากการทำกิฟต์มีการกรีดแผลเล็กๆ ที่หน้าท้อง มีการวางยาสลบ รวมถึงอาจเสี่ยงต่อภาวะการท้องนอกมดลูกและมีภาวะเสี่ยงแท้ง หลายๆ คนจึงหันมาทำเด็กหลอดแก้วกันมากขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงในการผ่าตัด การท้องนอกมดลูก การแท้ง และไม่ต้องนอนโรงพยาบาล ประกอบกับเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า วิธีการทำเด็กหลอดแก้วจึงมีอัตราการประสบความสำเร็จในการตั้งครรภ์มากกว่าการทำกิฟต์

การตรวจโครโมโซมของตัวอ่อนด้วยเทคโนโลยี NGS

NGS (Next Generation Sequencing) คือเทคโนโลยีการหาลำดับเบสที่พัฒนาขึ้นใหม่ มีความแม่นยำสูงในการตรวจคัดกรองตัวอ่อนได้อย่างน่าเชื่อถือ รวมถึงตรวจการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างโครโมโซมที่ผิดปกติ เช่น ความผิดปกติของชิ้นส่วนโครโมโซม และภาวะโมเซอิก (Mosaic) 30-70% ได้

ที่คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก และส่งเสริมสุขภาพสตรี BDMS Wellness Clinic ที่แนะนำประสานงาน​โดย โรงพยาบาลบีเอ็นเอช (BNH Hospital) เราได้นำเทคโนโลยี NGS มาใช้ในการตรวจคัดกรองวิเคราะห์ความผิดปกติของโครโมโซตัวอ่อน เพื่อลดปัญหาตัวอ่อนไม่ฝังตัว และเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ รวมไปถึงยังช่วยลดโอกาสในการเสี่ยงแท้งที่สามารถเกิดขึ้นในภายหลังอีกด้วย

PESA/TESE

Pesa (Percutaneous Epididymal Sperm Aspiration) /Tese (Testicular Sperm Extraction) คือการเก็บเชื้ออสุจิโดยตรงจากอัณฑะ โดยการทำ Pesa นั้นเป็นการใช้เข็มแทงผ่านผิวหนังบริเวณอัณฑะเพื่อดูดเอาเชื้ออสุจิจากอัณฑะ ส่วนการทำ Tese คือการตัดชิ้นเนื้ออัณฑะขนาดเล็กๆ ออกมา แล้วจึงใช้กล้องจุลทรรศน์แยกเอาเชื้ออสุจิที่อยู่ในอัณฑะออกมา วิธีนี้จะใช้ในกรณีที่ดูดหาแล้วไม่พบเชื้ออสุจิ

คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก และส่งเสริมสุขภาพสตรี BDMS Wellness Clinic ที่แนะนำประสานงาน​โดย โรงพยาบาลบีเอ็นเอช (BNH Hospital) พร้อมให้บริการดูแลรักษาทุกคู่สมรสที่ประสบปัญหาภาวะมีบุตรยาก ดังนั้นจึงมั่นใจได้ว่า ทุกกระบวนการการรักษาเรามีทีมงานที่มีประสบการณ์ มีประสิทธิภาพ และมีศักยภาพอย่างสูงสุด

การฉีดสารสกัดพลาสม่าเข้ารังไข่

การฉีดสารสกัดพลาสม่า หรือ PRP (Platelet-Rich Plasma) เป็นการฉีดสารสกัดพลาสม่าจากเลือดของเราที่มีความเข้มข้นของเกล็ดเลือดสูงกว่าระดับปกติ เพื่อรักษาภาวะมีบุตรยาก การฉีด PRP เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาการเสื่อมของรังไข่ เพราะจะช่วยฟื้นฟูการทำงานของรังไข่ เช่น รังไข่เสื่อมก่อนวัยอันควร ผู้ที่อยู่ในวัยหมดประจำเดือน และผู้ที่เคยทำเด็กหลอดแก้วแต่ไม่สำเร็จ

บลาสโตซิสท์คัลเจอร์ (Blast Cyst Culture)

บลาสโตซิสท์คัลเจอร์ เป็นวิทยาการที่สามารถช่วยเหลือผู้มีบุตรยาก คือ กระบวนการเลี้ยงตัวอ่อนภายนอกร่างกาย โดยเลี้ยงภายในห้องปฏิบัติการที่มีการควบคุม สภาวะแวดล้อมต่างๆ ให้เหมาะสมที่สุดสำหรับตัวอ่อนแต่ละระยะ จนกระทั่งตัวอ่อนเจริญเติบโตจนถึงระยะพร้อมจะฝังตัว ที่เรียกว่า Blastocyst ระยะนี้จะเกิดขึ้นหลังจากเลี้ยงตัวอ่อนได้ 5 – 6 วัน ก่อนจะใส่คืนเข้าไปในโพรงมดลูก ซึ่งตัวอ่อนบางส่วนเท่านั้นที่สามารถเจริญเติบโตมาถึงระยะ Blastocyst ได้ ทำให้การคัดเลือกตัวอ่อนดีขึ้นและสามารถเพิ่มโอกาสในการฝังตัวของตัวอ่อนให้ดีขึ้น เพื่อความสำเร็จในการตั้งครรภ์ต่อไป

ข้อดีในการทำ Blastocyst Culture

  • เพิ่มอัตราการตั้งครรภ์ให้สูงขึ้น เพราะสามารถเลือกตัวอ่อนที่มีคุณภาพดี ก่อนใส่กลับคืนสู่โพรงมดลูก Blastocyst เป็นวิธีการที่ตรงกับ กระบวนการในธรรมชาติมากที่สุด เพราะเป็นระยะที่ตัวอ่อนพร้อมจะฝังตัวแล้ว เมื่อใส่เข้าไปในโพรงมดลูกจึงสามารถฝังตัวได้เลย
  • ลดความเสี่ยงในการเกิดแฝดที่มีจำนวนทารกมากกว่า 2 คน เนื่องจากตัวอ่อนที่ผ่านการคัดเลือกมาถึงระยะ Blastocyst จะมีอัตราการตั้งครรภ์ต่อหนึ่งตัวอ่อนสูงกว่าตัวอ่อนระยะ 3 วันทำให้สามารถลดจำนวนตัวอ่อนที่ใส่กลับต่อครั้งเหลือเพียง 1-2 ตัวเท่านั้น

การเจาะเปลือกตัวอ่อน (Assisted Hatching)

การเจาะเปลือกตัวอ่อน หรือ Assisted Hatching (AH) พบว่าบางครั้งเปลือกของไข่มีความหนามากกว่า 15 ไมโครเมตร (เป็นหน่วยวัดภายใต้กล้องจุลทรรศน์ สำหรับวัตถุขนาดเล็กที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า) จะทำให้ตัวอ่อนไม่สามารถที่จะฟัก หรือออกมาจากเปลือกไข่ได้ทำให้ตัวอ่อนเหล่านั้นไม่สามารถออกมาฝังตัวในโพรงมดลูกได้ ทำให้อัตราการตั้งครรภ์น้อยลง วิธีการช่วยเหลือตัวอ่อนให้ออกจากเปลือกได้ง่าย คือทำให้เปลือกไข่บางลง หรือทำให้เกิดรู เพื่อเพิ่มโอกาสให้ตัวอ่อนสามารถออกจากเปลือกและเกิดการฝังตัวในโพรงมดลูกมากขึ้น การใช้เลเซอร์เข้ามาช่วยในการเจาะเปลือกไข่ นี้เรียกว่า LAH ย่อมาจาก Laser Assisted Hatching การใช้เลเซอร์นั้นมีความแม่นยำสูง ไม่เกิดอันตรายต่อตัวอ่อน อีกทั้งยังสามารถเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ให้เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

การตรวจฮอร์โมน (Hormone Testing)

การตรวจเลือดหาระดับของฮอร์โมน ช่วยในการตรวจ การทำงานของรังไข่ในสตรีและ ลูกอัณฑะในฝ่ายชาย ทั้งนี้เพื่อเป็นแนวทางในการวินิจฉัย และให้การรักษาด้วยการให้ยากระตุ้นการทำงานของรังไข่ และลูกอัณฑะในภาวะมีบุตรยาก ซึ่งจะมีการตรวจระดับฮอร์โมนต่างๆในเลือด เช่น FSH, LH, Estradiol, Progesterone, ฮอร์โมนเพศชาย (Testosterone) ,Prolactin,TSH, FT4, ACTH, Cortisol เป็นต้น

โปรแกรมตรวจหาสาเหตุการมีบุตรยาก

เพราะสาเหตุของภาวะมีบุตรยากมีทั้งเกิดจากฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย

ฝ่ายหญิง

  1. ตรวจฮอร์โมนการทำงานของรังไข่
  2. เจาะเลือดเพื่อตรวจดูฮอร์โมน
  3. ชุดตรวจเลือดพื้นฐาน
  4. ตรวจคัดกรองโรคธารัสชีเมีย
  5. ตรวจอัลตราซาวด์มดลูก

ฝ่ายชาย

  1. ตรวจคุณภาพน้ำเชื้อ 1 ครั้ง (งดการหลั่งน้ำเชื้อประมาณ 3-5 วันก่อนเข้ามาตรวจ)
  2. ตรวจคัดกรองโรคธารัสชีเมีย
  3. ชุดตรวจเลือดพื้นฐาน

แพทย์ประจำแผนก

นายแพทย์พูลศักดิ์ ไวความดี
ผู้อำนวยการคลินิกรักษาผู้มีบุตรยากและส่งเสริมสุขภาพสตรี

ภาษาที่ใช้ : ไทย, อังกฤษ

แพทย์หญิง ชโลมขวัญ ประยูรเวชช์
แพทย์ผู้ชำนาญการด้านการรักษาภาวะมีบุตรยากเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์และสูติศาสตร์นรีเวชวิทยา

ภาษาที่ใช้ : ไทย, อังกฤษ

แพทย์หญิงรุ่งทิวา กมลเดชเดชา
สูตินรีแพทย์

ภาษาที่ใช้ : ไทย, อังกฤษ

แพทย์หญิงวราธิป โอทกานนท์
สูตินรีแพทย์

ภาษาที่ใช้ : ไทย, อังกฤษ

นายแพทย์ ธนิก โชคจิรวัฒน์
Obstetrics & Gynecology, Reproductive Endocrinology and Infertility Medicine

ภาษาที่ใช้ : ไทย, อังกฤษ